top of page
01.jpg
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนKrissaka VCS

หลัก 6 ข้อ เลือกซื้อ COM ทำเพลง ปี 2021

อัปเดตเมื่อ 12 ธ.ค. 2563




ที่จริงผมเคยเขียนหัวข้อนี้ไปแล้ว ใน blog เก่า ปี 2014 หลัก 6 ข้อในการเลือก Computer เพื่องานดนตรีและการ แต่งเพลง แต่วันนี้ขอมาอัพเดทอีกครั้ง ในเวอร์ชั่นปี 2021 เพราะโลกก็เปลี่ยนไปเยอะ จนหลักบางข้อก็เปลี่ยนไป ไปดูกันเลยครับ


ปล. เนื้อหาบางส่วนมาจาก blog เก่า แต่เป็นเวอร์ชั่นอัพเดท 2021 ครับ

1. เลือกสิ่งที่สเถียร และเหมาะกับตัวเอง


“Mac ปัญหาน้อยกว่า แม้ไม่ได้อยากจะอวย แต่มันคือเรื่องจริง”


อันนี้ขอบอกว่า ถ้าคุณเป็นมือใหม่จริงๆ แล้วมีงบประมาณเพียงพอ ให้ใช้ Mac ไปเลยดีกว่าครับ เพราะผมอยากให้คุณโฟกัสกับการทำดนตรีให้ได้ประสิทธิภาพจริงๆ โดยไม่ถูกรบกวนด้วยเรื่องหยุมหยิม ปัญหายิบย่อยที่ทำให้ไม่ได้ทำซะที อ๊ะๆ นี่ไม่ใช่การเถียงกันในฐานะสาวกแม๊คหรือพีซี ผมไม่ได้บอกว่ามันประสิทธิภาพดีกว่านะ แน่นอนว่าในคุณภาพความแรงเท่าๆกัน PC ย่อมแรงกว่า Mac แต่คุณประโยชน์จากการเลือกแม๊คคือ


– Mac มี Soundcard ในตัวที่ ok กับการทำดนตรีอยู่แล้ว


สามารถเปิดมาแล้วใช้งานทำดนตรีได้เลย โดยไม่ต้องมีการเซตค่าที่ยุ่งยาก ตรงข้ามกับ PC ที่จะให้ Soundcard ที่ไม่เหมาะสมในการทำดนตรีติดมากับเมนบอร์ด ซึ่งทำให้เราต้องไปหาซื้อ Soundcard หรือ Audio Interface แยกมาต่อใช้งานเพิ่ม (ซึ่งที่จริงแล้วการทำงานในระดับโปรยังไงก็ต้องซื้อเจ้าสิ่งนี้อยู่ดีแหละครับ เพียงแต่สำหรับผู้เริ่มต้นอยากให้อย่าเพิ่งไปโฟกัสกับมันนัก)


– ตัดเรื่องหยุมหยิมออกไปได้เยอะ


อย่างที่รู้กันว่า Mac มันสเถียรกว่า ไวรัส น้อยกว่าหรือแทบจะไม่มี และไม่ค่อยแฮ๊งบ่อยเท่าพีซี เราควรทำเครื่องเราให้คลีนที่สุด เพื่อพร้อมกับการทำดนตรี ซึ่งความสเถียรของแม๊คนั้นตอบโจทย์ คือคอมที่เอาไว้ทำดนตรีเนี่ย อยากให้เป็นคอมที่แยกขาดจากการใช้งานด้านบันเทิงไปเลยจะดีกว่าครับ เล่นเนตอะไรพอได้ แต่อย่าโหลดบิทเลยครับ… มันทำให้เครื่องเจ๊ง ถ้าจะเล่นบิท มีเครื่องเมียน้อยอีกเครื่องเอาไว้โหลดเถอะครับ อันนี้แนะนำจากใจ…

คือผมก็ไม่ได้อยากจะอวยยี่ห้อไหนเป็นพิเศษหรอกนะครับ แต่อยากจะแชร์ประสบการณ์ที่เป็นเรื่องจริง แต่ก่อนเริ่ม แต่งเพลง ทำดนตรีใหม่ๆ ผมก็พยายามจะทำดนตรีด้วย PC เหมือนกัน แต่ก็ไปไม่รอด เพราะเสียเวลากับปัญหาจุกจิกเรื่องการลงโปรแกรม กับการเซตค่าอะไรสารพัด แต่พอได้เรียนจริงจังและลองใช้ Mac วันแรก ปัญหาทุกอย่างที่ติดขัดเป็นปีๆหายไปหมดเลยครับ แพงแต่จบ ผมสามารถทำเพลงออกมาได้ตั้งแต่วันแรกที่ใช้ ซึ่งมันก็อาจจะเป็นความโง่คอมพ์ของผมเองก็ได้ เพราะก็มีหลายคนที่ใช้ PC แล้วก็ทำเพลงได้ดีอยู่ทั่วไป คือถ้าคิดว่าเก่งเรื่องคอมพ์พอ และสามารถรับมือกับปัญหาหยุมหยิมได้ PC ก็เอาอยู่ครับ


*update 2021* ปัจจุบันทางฝั่ง PC ก็น่าสนใจ เพราะในราคาเท่าๆกัน ได้สเปคที่แรงกกว่ามากๆ ประหยัดมากกว่า Mac เห็นๆ แทบจะครึ่งๆ ฉะนั้น เลือกเอาตามที่ตัวเองสบายใจ กับ สะดวกเงินในกระเป๋าด้วยดีกว่าครับ


2. การ์ดจอไม่สำคัญ


ความโหดร้ายอย่างหนึ่งของการใช้ Mac คือ มันชอบอัพราคาโหดมหาศาลไปกับเรื่องที่คนทำดนตรีไม่ได้ใช้ อย่างการ์ดจอ ยิ่งพวก iMac ชอบใส่การ์ดจอเทพๆ สองตัวมาให้ บวกด้วยจอเรตินา สวยคมสุดยิด เพื่อ?!?!?! ผมแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ลองหารุ่นที่ตัดสิ่งนี้ออกไปเพื่อประหยัดงบประมาณ อาทิ เช่น Macmini จะคุ้มค่ากว่าเยอะครับ ในอนาคตจะมีเรื่องให้เสียตังค์อีกเยอะ อาทิเช่น พวก soundcard, ลำโพง monitor เอย midi keyboard เอย ฯลฯ เตรียมเอาเงินไปลงกับอย่างอื่นดีกว่า


3. อัดความเร็วให้เยอะที่สุด


ทั้ง CPU และ Ram เลือกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตามงบประมาณที่มีเลยครับ ตอนทำเพลงที่มี layer เครื่องดนตรี หรือใส่ plug-in เยอะๆ จะเห็นผลชัดมาก

*update 2021* อ้างอิงจาก Macbook ตัวใหม่ที่ออกปลายปี 2020 เป็นชิพ M1 ที่พิสูจน์แล้วว่าเร็วมากๆ เร็วกว่า เครื่องใหญ่ๆรุ่นเก่ามากๆ และทำงานได้ดี โดยที่ Ram แค่ 8 หรือ 16 กับบางแหล่งข่าวบอกว่า Ram นั้นมีผลน้อยกว่าในการทำเพลง ถ้าเทียบกับ CPU ครับ อันนี้ถ้ามีผู้รู้เรื่อง คอม แบบเซียนๆ มาคอมเฟิร์มกันหน่อยนะครับ


4. นับ Port ให้ดีๆ


ดูให้ดีว่า คอมพ์รุ่นนั้นๆ ให้ port หรือ รูเสียบ ต่างๆ มาเท่าไร เช่นพวก HDMI, Thunderbolt , USB , Firewire และเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ เพราะทำงานดนตรีเราจะต้องเสียบหลายอย่าง ทั้ง soundcard , external hdd , จอ 1-2 จอ , mouse , keyboard , midi keyboard , controller อะไรอีกสารพัด

ตัวที่ใช้ USB เราอาจหา hub มาเสียบเพิ่มได้ แต่พอร์ทหลายอย่างมันไม่มี HUB ต้องลองเช็คอุปกรณ์ที่เราจะใช้ และคำนวนให้ดีๆครับ

*update 2021* เรื่องพอร์ทยังคงสำคัญมากๆ อยู่ เพราะหลายรุ่นที่ออกมา ประสิทธิภาพดีขึ้นจริงๆ แต่ดันลดพอร์ท ซึ่งอาจทำให้เป็นปัญหากับการต่ออุปกรณ์ดนตรีเยอะๆได้ สิ่งที่ผมคิดว่า "ควร" มี สำหรับการทำเพลงยุคนี้คือ พอร์ท usb-c 3 port สำหรับสิ่งต่อไปนี้

- จอเสริม ทำให้สะดวกในการทำงานมากขึ้นเยอะ

- soundcard หรือ audio interface ขาดไม่ได้

- external ssd เอาไว้ใส่พวก sampling จำนวนมาก

ส่วนสิ่งอื่นๆนั้น ต่อ port usb-A ได้ ไม่มีปัญหา

นั่นแปลว่า ควรจะเช็คกันให้ดีๆก่อนว่า มี port usb type-c เพียงพอหรือไม่ หรือมันสามารถต่อ port เพิ่มได้แน่นอนแล้วจะไม่เป็นปัญหาใช่มั้ย


5. Harddisk ควรจะทั้งเร็วทั้งจุ


ความเร็ว HDD ควรเลือกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างพวก HDD ความเร็ว 7200 รอบ หรือถ้ามีงบประมาณมากแนะนำ Solid state ไปเลยครับ มันช่วยได้มากทำให้เครื่องไม่ overload เวลาใช้งานหนักๆ ความจุก็สำคัญเช่นกัน เพราะพวกเสียงเครื่องดนตรีต่างๆที่เค้าเรียกว่า Sampling นั้น เราควรต้องมีคลังเก็บไว้ให้มาก และแน่นอนมันกินความจุมหาศาล ผมแนะนำว่าควรมีความจุอย่างต่ำ 700 GB

*update 2021* ลืมเรื่อง HDD ปกติไปได้เลยครับ ใช้ SSD ล้วนๆเถอะ แต่เรามักเจอปัญหาว่ามันแพงมาก ฉะนั้นอาจมีวิธียืดหยุ่น โดยการใช้แบบ ssd ติดเครื่องที่ไม่ต้องเยอะมาก ไม่แพงมาก แต่ใช้ external ssd เสียบเอาแทน สำหรับพวกไฟล์ Sampling เสียงต่างๆ


6. เตรียมเงินไว้เผื่อสำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็น


อย่างที่ได้กล่าวไปว่า การทำดนตรีต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมอีกหลายชิ้น นอกเหนือจาก Computer คือ (ขอเรียงตามลำดับความสำคัญนะครับ)

– midi keyboard หรือ คีย์บอร์ดใบ้ – audio interface หรือที่เรียกว่า soundcard – ลำโพงและหูฟัง แบบ studio monitor – Mic ชนิดต่างๆสำหรับบันทึกเสียง – เครื่องดนตรีและ controller เสริมต่างๆ

ซึ่งสิ่งต่างๆที่ว่าไป เราอาจจะหาซื้อสิ่งเหล่าตามมาทีหลังได้ เพื่อเพิ่มคุณภาพการทำงาน,ความสะดวก ให้กับการทำงาน

ฝากไว้สำหรับใครที่กำลังจะซื้อคอมพ์เครื่องใหม่สำหรับทำงาน แต่งเพลง งานดนตรีนะครับ คิดว่าคงเป็นประโยชน์บ้าง พบกับสาระดนตรีได้ที่นี่ VERYCATSOUND



 

หากใครที่กำลังหาซื้อคอมเพื่อเริ่มต้นทำเพลงกันอยู่ หากสนใจเริ่มต้นเรียนการแต่งเพลง ขอแนะนำคอร์สนี้ครับ

เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับผู้ที่สนใจ ลองเข้าอ่านรายละเอียดได้ที่ link ครับ

ดู 2,244 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


01.jpg
bottom of page