ยุคนี้มีศิลปินเกิดใหม่มากมาย เพราะอะไรๆก็สามารถทำได้เองได้ง่ายมากขึ้น หลายๆคนตอนจะเริ่มทำเพลงเอง ก็อาจจะงงหน่อยว่า มันเริ่มอะไรยังไง
การทำเพลงนั้นประกอบด้วยส่วนประกอบหลักๆ สามส่วนน่ะครับ (ถ้าไม่นับ production การ recording , mixing , mastering นะ) นั่นคือ "เนื้อร้อง" , "ทำนอง" , "ดนตรี" ซึ่งก็มักจะมีคำถามที่หลายคนสงสัยว่า ปกติเค้าแต่งอะไรกันก่อน คล้ายๆกับ ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกันนั่นแหละครับ ที่จริงมันก็ไม่มีผิดไม่มีถูก แล้วแต่สไตล์ที่แต่ละคนถนัด
วันนี้จะมาแนะนำวิธีเริ่มต้นแต่งเพลงทั้ง 4 แบบ สำหรับหลายๆคนกันครับ
1. เริ่มแบบวิธี Old School (กีตาร์/เปียโน ตีคอร์ด ร้องเพลง)
อันนี้เป็นวิธีดั้งเดิมของใครหลายๆคนในยุคก่อนๆเลย โดยมากมักจะต้องมีพื้นฐานคือเล่นดนตรีเป็นมาก่อน แล้วมาด้นๆ ตีคอร์ด พร้อมร้องฮัมๆเนื้อ ฮัมๆเมโลดี้ไป แล้วใช้กระดาษจด หรือโน๊ตเพลงเขียนไว้ หรืออัดไว้ในโทรศัพท์ บางทีก็มาพร้อมเนื้อร้อง หรือบางทีก็มาใส่เนื้อร้องแยกต่างหาก
ข้อดี
- เริ่มได้ง่ายๆ เพียงแค่มีเครื่องดนตรี กับอารมณ์ศิลปิน สกิล และเซ้นส์ทางดนตรี
ข้อเสีย
- บางทีการจดหรืออัดไว้ ทำได้ไม่ละเอียด ไม่สามารถมาปรับแก้เพลงได้สะดวก
- ต้องพอมีสกิลพื้นฐานทางดนตรีอยู่บ้าง จึงจะทำได้
2. เริ่มแบบเขียนเนื้อ หรือร่างไอเดียขึ้นมา
บางคนให้ความสำคัญกับการเล่าเรื่องหรือเนื้อร้องมากกว่า อาจจะใช้วิธีนี้ คือนั่งคิดไอเดียเพลงก่อน หรือเขียนเป็นบทความที่อยากเล่าขึ้นมา หรือเขียนเป็นกลอน แล้วค่อยฮัมทำนองใส่เข้าไปทีหลัง วิธีนี้เหมาะกับคนที่ไม่มีพื้นฐานทางดนตรีเลย หรือเล่นดนตรีไม่เป็น แต่ร้องเพลงได้
ข้อดี
- เริ่มได้ง่ายเช่นกัน ไม่ต้องมีเครื่องดนตรี
- สามารถควบคุมการเล่าเรื่อง หรือไอเดียของเพลงได้ดีกว่า
ข้อเสีย
- อาจทำให้จำกัดการสร้างทำนอง หรือเมโลดี้ ทำให้เพลงมีทำนองที่ลงตัวยากหน่อย
3. เริ่มด้วยการฮัมเมโลดี้ออกมา
เป็นวิธีที่ฮัมทำนองมาเพียวๆ จากหัว จากจินตนาการ บางคนได้ยินเมโลดี้นี้ในหัว ตอนขับรถ ตอนหลับ ตอนอาบน้ำ แล้วก็รีบฮัมแล้วอัดเก็บไว้ จากนั้นค่อยมาทำกระบวนการอื่นๆต่อ เพื่อให้จบเพลง เช่นใส่เนื้อร้อง หรือ นำไปสร้างดนตรีต่อจนจบ โดยที่เป็นวิธีที่ค่อนข้างเหมาะกับคนที่คุ้นเคยกับดนตรีมากๆ จนมีเสียงในหัวของตัวเอง จินตนาการและถ่ายทอดมันออกมาได้ หรือบางคนที่มีเซ้นส์ทางดนตรีมากจริงๆ จนฮัมเมโลดี้ออกมาเองได้ ก็สามารถเริ่มด้วยวิธีนี้ได้ครับ
ข้อดี
- มักจะได้เพลงที่มีความลงตัวทางทำนอง และเพลงดูมีความสมบูรณ์
- จะเล่าเรื่องหรือใส่เนื้อยากหน่อย เพราะถูกชี้นำเมโลดี้มาแล้ว
ข้อเสีย
- เป็นวิธีที่ค่อนข้างยากสำหรับมือใหม่ ที่ยังไม่สามารถจินตนาการตัวโน๊ตในหัวเองได้
4. เริ่มแบบ สร้าง Beat ขึ้นมาก่อน ด้วยอุปกรณ์สมัยใหม่
บางคนอาจใช้อุปกรณ์สมัยใหม่ เช่น App ในโทรศัพท์ , taplet หรือ โปรแกรม DAWs (Digital Audio Workstation) คือโปรแกรมทำเพลงต่างๆ ในการปั้นดนตรีกับจังหวะขึ้นมาก่อน แบบที่สมัยนี้นิยมเรียกกันว่า "Beat" นั่นเอง จากนั้นก็ค่อยๆประกอบร่าง และฮัมทำนอง ใส่เนื้อร้องเข้าไปเพิ่มจนเพลงเติมเต็มสมบูรณ์
ข้อดี
- เห็นภาพรวมของเพลงได้ชัดเจนกว่า
- สามารถควบคุม Element ต่างๆ ได้ง่ายกว่า และปรับแก้ส่วนต่างๆได้สะดวกกว่า
ข้อเสีย
- ต้องมีอุปกรณ์ คอม โทรศัพท์ ตัวแอพ หรือโปรแกรม ที่เหมาะสมนำมาใช้งาน
- อาจต้องมีความรู้ในการทำเพลงอยู่พอตัว
ทั้งหมดนี้ แค่เริ่มต้น
ซึ่งไม่ว่าเราเริ่มต้นด้วยวิธีไหน พอได้โครงร่างมาบางส่วนเราก็ต้องไปทำต่อให้จบทุกกระบวนการอยู่ดี ไม่ว่า เนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียงเสียงประสาน ทำดนตรี หรือทำโปรดักชั่น อัดเสียง มิกซ์ มาสเตอร์ สู้เค้ามือใหม่ ขอให้ทำเพลงเองได้อย่างที่ตัวเองฝันครับ
สิ่งที่เราอยากแนะนำ คือใช้ DAWs
ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหน แต่ถ้าได้บันทึกสิ่งที่อยู่ในหัวออกมาเป็นโครงร่าง เพื่อนำไปทำต่อให้สมบูรณ์ เป็นสิ่งที่สำคัญ ลำพังการอัดเป็นไฟล์เสียง หรือจดโน๊ต บางทีอาจไม่สะดวกในการแก้ไขเพลงให้สมบูรณ์ พอกระบวนการทำมันยุ่งยากเข้า ก็ทำให้เสียงที่เราจินตนาการไว้ถูกลืมไปอีก เราแนะนำให้ใช้ DAWs หรือโปรแกรมทำเพลงต่างๆ สร้างโครงร่างและบันทึกมันไว้ครับ
สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นแต่งเพลง และอยากวางรากฐานเป็นขั้นเป็นตอนให้ถูกต้อง เราขอแนะนำคอร์สนี้ครับ เป็นคอร์สที่เหมาะกับผู้เริ่มแต่งเพลงจริงๆ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้เกิดความสะดวก และเป็นคอร์สที่จะวางรากฐานทางการแต่งเพลง ก่อนจะไปเรียนรู้ต่อในระดับที่สูงขึ้น
เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับผู้ที่สนใจ ลองเข้าอ่านรายละเอียดได้ที่ link ครับ